uchiha

uchiha

sasuke

sasuke

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

วิธีการปลูกผักสวนครัว


1.การปลูกผักในแปลงปลูก มีขั้นตอน คือ
1.1 การพรวนดิน ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 6 นิ้ว เพื่อพรวนดินให้มีโครงสร้างดีขึ้น กำจัดวัชพืชในดินกำจัดไข่แมลงหรือโรคพืชที่อยู่ในดิน โดยการพรวนดินตากทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน
1.2 การยกแปลง ใช้จอบพรวนยกแปลงสูงประมาณ 4-5 นิ้ว จากผิวดิน โดยมีความกว้างประมาณ 1-1.20 เมตร ส่วนความยาวควรเป็นตามลักษณะของพื้นที่หรืออาจแบ่งเป็นแปลงย่อยๆ ตามความเหมาะสม ความยาวของแปลงนั้นควรอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ทั้งนี้เพื่อให้ผักได้รับแสงแดดทั่วทั้งแปลง
1.3 การปรับปรุงเนื้อดิน เนื้อดินที่ปลูกผักควรเป็นดินร่วนแต่สภาพดินเดิมนั้นอาจจะเป็นดินทรายหรือดินเหนียว จำเป็นต้องปรับปรุงให้เนื้อดินดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน
2.การปลูกผักในภาชนะ
การปลูกผักในภาชนะควรจะพิจารณาถึงการหยั่งรากของพืชผักชนิดนั้นๆ พืชผักที่หยั่งรากตื้นสามารถปลูกได้ดีในภาชนะปลูกชนิดต่างๆ และภาชนะชนิดห้อยแขวนที่มีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร คือ
ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)
วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับภาชนะแขวนอาจใช้ กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้
2.1 เพาะเมล็ดด้วยการหว่านแล้วถอนแยกหรือหยอดเป็นแถวแล้วถอนแยก
2.2 ปักชำด้วยต้น และด้วยหัว ได้แก่
สรุป ควรตรวจสอบพื้นที่ที่จะปลูกผักเพื่อให้เหมาะสมแก่ผักที่จะปลูกถ้าพื้นที่ไม่เหมาะสมก็ไม่ควรปลูกในพื้นที่นั้นๆ

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

สิ่งประดิษฐ์เหลือใช้

บทที่ 1
วัสดุและงานประดิษฐ์

วัสดุ หรือ วัตถุดิบ (material) เป็นแก่นสารทางวัตถุที่ใช้ในกระบวนการผลิตเป็นวัตถุในขั้นแรกที่ได้มาจากแหล่งวัตถุดิบก่อนจะนำไปแปรรูปเป็นผลิตผล สำหรับการอุปโภค บริโภค คำว่า วัตถุ เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี ตรงกับคำในภาษาสันสกฤตว่า วัสดุ ไทยรับมาใช้ทั้ง 2 คำ แต่ใช้ในความหมายต่างกัน
วัตถุ หมายถึง สิ่งของทั่วไป แต่ วัสดุ หมายถึง สิ่งของที่นำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น วัสดุก่อสร้าง วัสดุการศึกษา หรือหมายถึงของที่ใช้แล้วหมดเปลืองไป เช่น กระดาษและเครื่องเขียนต่าง ๆ จัดเป็นวัสดุสำนักงาน
วัตถุ กับ วัสดุ จึงต่างกันตรงที่การใช้สอย วัตถุ หมายถึง สิ่งของทั่ว ๆ ไป เช่น โบราณวัตถุ ถาวรวัตถุ วัตถุนิยม ส่วน วัสดุ หมายถึง สิ่งของที่จะนำไปใช้ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย ถ้ายังไม่ได้นำไปใช้ เรียกว่าเป็นวัตถุ แต่ถ้าจะนำไปใช้ประโยชน์ เช่น ใช้ในการก่อสร้างหรือทำสิ่งอื่น กรวด หิน ดิน ทราย นั้นก็จะเรียกว่าเป็นวัสดุ
วัสดุที่ใช้ในการสร้างงาน
วัสดุที่ใช้ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์มีมากมาย แบ่งตามลักษณะของวัสดุ ได้ 2 ชนิด ได้แก่
1. วัสดุธรรมชาติ
ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ในแต่ละท้องถิ่นจะมีทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างกันไป และมีทรัพยากรบางชนิดที่ไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์หรือถูกทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย ดังนั้น หากประชากรแต่ละท้องถิ่นได้ศึกษาค้นคว้าและสำรวจทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่แล้วนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ผลผลิตทั้งหลายที่เกิดขึ้น ก็จะช่วยเสริมสร้างสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ชุมชน และประเทศได้
1.1 ฟางข้าว
การทำนานอกจากจะได้ข้าวไว้บริโภคแล้วผลพลอยได้นอกจากเมล็ดข้าว ก็คือ ฟางข้าวซึ่งมีจำนวนมากในแต่ละฤดูผลิต ดังนั้นชาวนาจึงรู้จักที่จะนำฟางที่ได้ไปใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น เป็นอาหารของโคกระบือ นำไปทำปุ๋ยหมัก หรือใช้คลุมต้นไม้และพืชผัก เพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดิน เพาะเห็ดฟาง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังรู้จักนำฟางข้าวมาใช้ประโยชน์ในงานอื่นๆ ได้อีก เช่น นำไปยัดเป็นไส้แทนนุ่น ในหมอนขิด รูปสามเหลี่ยม เพื่อรักษารูปทรงของหมอนให้สวยงาม ทำตะกร้า กระจากใส่ของ กล่องทิชชู เป็นต้น



1.2 กะลามะพร้าว
กะลา เป็นส่วนหนึ่งของมะพร้าว ซึ่งในประเทศไทยสามารถปลูกมะพร้าวได้เกือบทุกจังหวัด แต่บริเวณที่มีการเพาะปลูกอย่างหนาแน่นเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ คือ บริเวณจังหวัดทางภาคใต้ กะลามะพร้าวเป็นวัสดุธรรมชาติที่มีความแข็งแรง มีสีลวดลายเป็นริ้วรอยตามธรรมชาติ เมื่อนำมาขัดให้เรียบก็จะมีความมันวาวเหมือนเคลือบด้วยแลคเกอร์ ด้วยเหตุนี้คนสมัยโบราณ จึงได้นำกะลามาดัดแปลง ทำเป็นซออู้ กระบวยตักน้ำ ทัพพี เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ต่อมาได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากกะลามะพร้าวขึ้นมากมาย โดยนำไปทำเป็นเครื่องประดับ ช้อนส้อม รวมไปถึงถ้วยชามและชุดน้ำชา ซึ่งเป็นสินค้าที่กำลังได้รับความนิยม
1.3 กล้วย
กล้วยเป็นไม้ล้มลุก ที่ปลูกกันอยู่ทั่วไปทุกพื้นที่ พันธุ์กล้วยในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยหักมุก กล้วยป่า กล้วยตานี ประโยชน์ของกล้วยมีมากมายสามารถนำมาใช้ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ผลจนถึงเหง้าของกล้วย เช่น ผลและหัวปลีใช้เป็นอาหาร ใบกล้วยหรือใบตองใช้ทำ กระทง บายศรีหรือห่อขนม กาบกล้วยนำมาทำ เชือกกล้วย เพื่อถักเป็นกระจาด กระเป๋า ถาด หมวก ดอกไม้ เข็มขัด
1.4 ผักตบชวา
ผักตบชวา เป็นพืชน้ำประเภทใบเลี้ยงเดี่ยว ลอยน้ำได้ เจริญเติบโตโดยไม่ต้องมีที่ยึดเกาะ แพร่พันธ์ได้รวดเร็ว จัดเป็นวัชพืชที่สร้างความเสียหายให้แก่ ชลประทาน การประมง การเกษตร การสาธารณะสุขและด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมากอย่างไรก็ตามผักตบชวามีประโยชน์โดยนำมาเป็นอาหารสัตว์ ใช้แก้ปัญหาน้ำเสีย ใช้เป็นวัสดุในการเพาะเห็ดฟาง ใช้ผลิตปุ๋ยหมัก ใช้ผลิตก๊าซชีวภาพ นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในการถักสานเครื่องใช้ ของประดับตกแต่ง เช่น ตะกร้า กล่อง โคมไฟ กระเป๋า ถาด หมวก เป็นต้น
1.5 กระจูด
เป็นพืชล้มลุกจำพวกเดียวกับต้นกก ลำต้นกลม สีเขียวเข้ม ภายในลำต้นกลวงเป็นปล้อง เมื่อเติบโตเต็มที่ลำต้นของกระจูดจะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร และสูงประมาณ 1-2 เมตร ในประเทศไทยพบต้นกระจูดขึ้นกระจายอยู่ทั่วทุกภาค แต่ที่หนาแน่นคือ แถบฝั่งทะเลด้านตะวันออก และภาคใต้ โดยมากกระจูดมักขึ้นอยู่ตามห้วย หนอง คลอง บึง บริเวณที่มีน้ำขัง หรือที่มีสภาพโคลนตามแหล่งน้ำจืดและฝั่งทะเลต้นกระจูดนำมาสานเป็นเครื่องใช้ภายในบ้านได้หลายชนิด เช่น เสื่อสำหรับรองนั่ง ปูนอน



1.6 โสน
โสนเป็นวัชพืชที่ขึ้นในน้ำชนิดหนึ่งมี 2 พันธุ์ คือ โสนที่ใช้กินดอกและโสนหางไก่ ซึ่งนำมาสร้างสิ่งประดิษฐ์ โสนหางไก่พบมากในท้องที่ของ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดอยุธยา และจังหวัดใกล้เคียงซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม มีน้ำท่วมขัง เช่น ตามห้วยหนองคลองบึงหรือนาข้าว ส่วนมากโสนหางไก่จะขึ้นเฉพาะฤดูฝน และโตเต็มที่ประมาณเดือนกันยายนหลังจากน้ำลดก็จะเริ่มแห้งตายโสนหางไก่มีลำต้นอวบตรง เนื้อในอ่อนนุ่มและมีน้ำหนักมาก เมื่อยังเป็นลำต้นอ่อนจะมีเปลือกบางๆ สีน้ำตาลอมเขียวหุ้มอยู่ แต่เมื่อแก่จนถึงแห้งตายแล้ว เปลือกจะกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มส่วนภายในลำต้น ซึ่งเป็นเนื้อสีขาวอ่อนนุ่ม คล้ายฟองน้ำเอาไว้และมีน้ำหนักเบามีหลายท้องถิ่นนำต้นโสนที่แห้งตายไปมาตัดเป็นท่อนๆ ความยาวประมาณ 5-6 นิ้ว แล้วปลอกเปลือกออก จากนั้นฝานเนื้อโสนเป็นแผ่นบางๆ จนถึงแกนในด้วยมีดที่คมเป็นพิเศษ และม้วนแผ่นโสนไว้ทำดอกไม้ หรือนำไปย้อมสีตามต้องการ แล้วนำมาประดิษฐ์ดอกไม้ต่างๆ ได้หลายชนิด เช่น ดอกกุหลาบ ดอกมะลิ ดอกเยอร์บีร่า ดอกบัว ดอกดาวเรือง ดอกกล้วยไม้ ดอกพลับพลึง ดอกเบญจมาศ เป็นต้น
1.7 ใบยางพารา
ยางพาราเป็นไม้ยืนต้นที่เคยเป็นพืชที่นิยมปลูกกับมากทางภาคใต้ และภาคตะวันออก แต่ในขณะนี้มีเกือบทุกภาคในประเทศไทย ยางพาราเจริญเติบโตได้ดีในที่มีอากาศชื้น และฝนตกชุก ต้นยางพารานอกจากจะให้ประโยชน์โดยสามารถกรีดน้ำยางมาทำยางดิบได้แล้วต้นยางพาราที่อายุมาก ก็ยังสามารถนำเนื้อไม้มาแปรรูป เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน และใช้ใบยางพาราสดมาผ่านกรรมวิธี ทำเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ ตัวอย่างเช่น ดอกมะลิ ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า ดอกอุไร ดอกเบญจรงค์ และดัดแปลงเป็นเข็มกลัดติดเสื้อรูปผีเสื้อได้
1.8 ไม้ไผ่
ไม้ไผ่เป็นพืชที่ขึ้นง่าย โตเร็ว ตายยากและขยายพันธุ์ได้ง่ายมาก พันธุ์ไผ่ที่ปลูกในประเทศไทย ได้แก่ ไผ่สีสุข ไผ่ตง ไผ่เหลือง ไผ่เลี้ยง ไผ่รวก ไผ่ป่า ไผ่ลำมะลอก ไผ่ไร่ ไผ่ซาง ไผ่บง เป็นต้น ไผ่ เป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนตั้งแต่หน่อ ลำต้นและใบ โดยใช้เป็นอาหาร ก่อสร้างอาคารบ้านเรือน จักสานเป็นเครื่องใช้สอย ประดับตกแต่งได้มากมายหลายชนิด เช่น กระเป๋า ตะกร้า เสื่อ ลอบ ไซ กระติ๊บ ข้าว กระด้ง หมวก รองเท้า




1.9 เปลือกข้าวโพด
ข้าวโพดเป็นพืชไร่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง นอกจากจะใช้บริโภคภายในประเทศแล้ว ยังส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศอีกด้วยแหล่งปลูกข้าวโพดที่สำคัญอยู่ทางภาคเหนือ และรองลงมา คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตามลำดับ จังหวัดที่ปลูกข้าวโพดที่สำคัญได้แก่ เพชรบูรณ์ นครราชสีมา เลย ลพบุรี นครสวรรค์และปราจีนบุรี ชนิดของข้าวโพดที่ปลูกในประเทศไทย ได้แก่ ข้างโพดไร่ชนิดหัวบุบ ข้าวโพดไร่ชนิดหัวแข็ง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดคั่ว ในอดีต เมื่อเกษตรกรจำหน่ายผลผลิตข้าวโพดจะต้องปอกเปลือกทิ้ง แต่ปัจจุบันเปลือกข้าวโพด สามารถนำมาประดิษฐ์ตุ๊กตาและดอกไม้ต่างๆ ได้ เช่น ดอกกุหลาบ ดอกเยอร์บีร่า ดอกคาร์เนชัน ดอกบัว รวมทั้งดอกไม้จันทน์ที่ใช้ในงานศพ โดยขั้นตอนในการทำดอกไม้เริ่มจากนำก้านหรือเปลือกข้าวโพดซึ่งตาก แห้งแล้ว ไปย้อมสีตามต้องการ จากนั้นนำมาตัดเป็นรูปใบและดอกตามชนิดของดอกไม้ ใช้ลวดพันเป็นก้านดอกพันด้วยกระดาษย่น เกสรดอกไม้ก็ใช้เส้นลวดขนาดเล็กจุ่มกับแป้งข้าวเจ้าเป็นตุ่มเล็กๆ แล้วตกแต่งให้สวยงาม
1.10 เปลือกไข่
ไข่ เป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมบริโภคกันทุกครัวเรือน ไข่ที่มีการนำมาบริโภคได้แก่
ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่ห่าน ไข่นกกระทาและไข่เต่า นอกจากไข่จะนำมาบริโภคสด หรือทำเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ไข่เค็ม ไข่เยี่ยวม้า ไข่ผง ไข่แช่เยือกแข็ง หรือนำไปใช้เป็นส่วนผสม ในการทำขนมและผลิตภัณฑ์ อื่นๆ แล้วยังนำไปใช้ประโยชน์ ด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ หรือใช้ในอุตสาหกรรมการทำปุ๋ย สี แชมพู การย้อมหนังและนำไปทำเป็นของ ประดับตกแต่งบ้านเพื่อความสวยงาม เช่น เปลือกไข่นกกระจอกเทศแกะสลักหรือวาดลวดลาย และเพ้นท์สีลงบนเปลือกไข่เป็นต้น
1.11 เปลือกหอย
เปลือกหอยมีทั้งหอยทะเลและหอยน้ำจืด ซึ่งมีรูปแบบสีสัน ขนาดและผิวแตกต่างกันออกไป เราสามารถนำเปลือกหอยเหล่านี้มาสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่สวยงาม และมีประโยชน์ใช้สอยแตกต่างกันออกไปเช่น หอยมุก ใช้ประกอบงานเครื่องรักที่เรียกว่า งานประดับมุก หรือนำมาทำ ที่เขี่ยบุหรี่ ที่ใส่ดินสอ ที่เสียบปากกา ทัพพี ช้อน ที่เสียบผม หอยทับทิมนำมาร้อยเป็นสร้อยข้อมือ สร้อยคอ




1.12 เกล็ดปลา
ปลาเป็นอาหารอย่างหนึ่งของมนุษย์ เวลาที่นำปลามาประกอบอาหาร เราจะต้องขอดเกล็ดปลาทิ้งไป หากพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่าเกล็ดปลาที่เราทิ้งไปนั้น มีคุณสมบัติพิเศษ คือ
มีความเงา แวววาว สวยและมีประกายมุกสามารถหักงอได้ ดังนั้นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทางภาคใต้ เห็นคุณค่าของเกล็ดปลา จึงริเริ่มประดิษฐ์ดอกไม้จาก เกล็ดปลา และนำออกจำหน่าย สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ต่อมามีการพัฒนารูปแบบงานประดิษฐ์จากเกล็ดปลา โดยนำมาประกอบหรือประดับตกแต่งบน สิ่งของเครื่องใช้ เช่น กรอบรูป เข็มกลัด เครื่องแก้ว หมวก กล่อง กระดาษสา เชิงเทียน แจกัน เป็นต้น
1.13 ขนสัตว์
ขนสัตว์ที่นิยมนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ เช่น ไม้ปัดฝุ่น หรือเครื่องประดับตกแต่งบ้านเรือน ได้แก่ ขนไก่ ขนนก ขนนกยูง ขนกระต่าย ขนนกกระจอกเทศ เป็นต้น
1.14 ก้อนหิน
ก้อนหินมีอยู่มากมายหลายชนิด แต่ละชนิดมีรูปร่างลักษณะ สีสันและลวดลายที่สวยงามแตกต่าง กัน ซึ่งถ้านำมาติดต่อกันและทาสี ประกอบหรือขัดเกลาให้เป็นรูปร่างแล้ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งภายในบ้าน หรือใช้ทับกระดาษเพื่อไม่ใช้กระดาษปลิว เป็นต้นนอกจากวัสดุธรรมชาติดังกล่าวแล้ว เรายังสามารถนำวัสดุธรรมชาติชนิดอื่นๆ มาประดิษฐ์เป็นของใช้ ของเล่น ของประดับตกแต่งได้อีกมากมาย
2. วัสดุสังเคราะห์
วัสดุสังเคราะห์ เป็นผลิตภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ ที่เกิดจากการสังเคราะห์ด้วยสารเคมี หรือวัสดุธรรมชาติด้วยกรรมวิธีต่างๆ การนำวัสดุสังเคราะห์มาใช้ในการสร้างประดิษฐ์ผลงาน ควรเลือกใช้วัสดุที่มีราคาถูกและหาได้ง่าย ดังต่อไปนี้
2.1 กระดาษ
กระดาษเป็นวัสดุที่สังเคราะห์ได้จากเนื้อไม้ มีหลายชนิด หลายลักษณะ เช่น
กระดาษแข็ง กระดาษอ่อน กระดาษเรียบ กระดาษหยาบ กระดาษมัน กระดาษด้าน นอกจากนี้ยังมีสีสันที่แตกต่างกัน ทำให้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับรูปแบบของสิ่งที่ประดิษฐ์แต่ละชิ้น ตัวอย่างงานประดิษฐ์จากกระดาษที่พบเห็นกันทั่วไป ได้แก่ กล่อง ภาพประดับผนัง กรอบรูป แจกัน ถาด โคมไฟ นาฬิกา โมบายล์ เป็นต้น





2.2 ผ้า
ผ้า เป็นวัสดุที่ทำขึ้นจากเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยวิทยาศาสตร์ ผ้าแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันทั้งลวดลายและสีสัน ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะชิ้นงาน เช่น ผ้าขนสัตว์มีคุณสมบัติไม่ยับง่าย ไม่ค่อยสกปรก จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบในการประดับตกแต่งสิ่งประดิษฐ์ ที่เน้นความสวยงามเป็นเวลานาน
2.4 เชือกไนล่อน
เชือกไนล่อน เป็นเชือกที่มีความเหนียวและทนทานมาก มีหลากสีสันและหลากหลายขนาดให้เลือกใช้หาซื้อง่าย ประโยชน์ของเชือกไนล่อน นอกจากจะใช้ทำอวนหาปลาแล้ว ยังสามารถนำมาสร้างประดิษฐ์เป็นของใช้ ของเล่นหรือของประดับตกแต่งได้อย่างสวยงาม
2.5 พลาสติก
พลาสติก คือ สารสังเคราะห์ประเภทพอลิเมอร์ มีลักษณะอ่อนตัวในขณะที่ผลิต หรือใช้ความร้อนทำให้อ่อนตัว สามารถนำไปหล่อ อัด หรือฉีดเป็นรูปร่างต่างๆ ได้พลาสติกมีคุณสมบัติที่ดี คือ มีความทนทาน ไม่เปราะ หรือแตกหักง่ายและมีน้ำหนักเบา จากคุณสมบัติดังกล่าว จึงได้มีการนำพลาสติกมาใช้ในด้านต่างๆ เช่น ใช้ทำถุงใส่ของร้อนและเย็น โฟม ขวด ถ้วย ถังน้ำ ฉนวนหุ้มสายไฟ พลาสติกห่อของต่างๆ ลูกปัด ดอกไม้พลาสติก ของเล่น ตุ๊กตาเรซิน ฟิล์ม แผ่นเสียง กระเป๋า กระเบื้องยาง ท่อน้ำ เสื้อกันฝน หนังเทียมบุเก้าอี้ และใช้ชุมภาชนะโลหะเพื่อป้องกันสนิม เป็นต้น นอกจากนี้เรายังสามารถนำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นจากพลาสติก เช่น โฟม กระเบื้องยาง ท่อน้ำ ดอกไม้พลาสติก ถุงพลาสติก หรือหนังเทียมมาสร้างเป็นผลงานประดิษฐ์ ที่สามารถใช้งานและประดับตกแต่งเครื่องใช้หรือเสื้อผ้า
ความหมายของงานประดิษฐ์
งานประดิษฐ์ หมายถึง งานที่เกิดจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคลทำหรือสร้างผลงานอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา เพื่อใช้ประโยชน์ตามลักษณะของผลงานนั้นๆ ผลงานที่เกิดจาก งานประดิษฐ์ เราเรียกกันว่า สิ่งประดิษฐ์ ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ที่อยู่ รอบ ๆ ตัวเรานั้นมีมากมายหลายประเภท เช่น ของเล่น ของใช้ภายในบ้าน เครื่องประดับตกแต่งร่างกายและเสื้อผ้า สิ่งก่อสร้าง เครื่องแขวน ของประดับบ้าน เป็นต้น






ความเป็นมาของงานประดิษฐ์
สิ่งประดิษฐ์เกิดขึ้นเพราะมนุษย์เป็นผู้สร้าง ผู้พัฒนา ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงรูปแบบผลงานด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล มีวัตถุประสงค์ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์เพื่อสนองตอบความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอยเป็นประการสำคัญ มนุษย์สามารถคิดพัฒนาตนเองขึ้นมาได้ตามยุคตามสมัยโดยจะดูได้จากยุคอดีต มนุษย์ไม่มีเครื่องแต่งกาย เพื่อปกปิดร่างกาย
แต่ต่อมาได้รู้จักนำวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบไม้หรือหนังสัตว์มานุ่งห่ม นำก้อนหินมาทำอาวุธ
ทำเป็นที่อยู่อาศัยและเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน แล้วพัฒนามาใช้เหล็กเป็นอาวุธ ใช้ ดิน หิน ทรายและปูนซีเมนต์ก่อสร้างที่อยู่อาศัย ตลอดจนค้นคว้าพัฒนาใช้พลาสติกหรือแก้วมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น นอกจากนี้มนุษย์ก็ยังต้องการใช้สิ่งประดิษฐ์ในการจรรโลงใจ ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์และและจิตใจอีกด้วย โดยผลงานที่ให้ประโยชน์ในด้านจิตใจ ได้แก่ ภาพวาด งานปั้น งานแกะสลัก งานเย็บ-ปัก-ถัก-ร้อย การบรรเลงดนตรี เป็นต้น
ประโยชน์ของงานประดิษฐ์
1. ใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้านและใช้สอยในบ้าน ตกแต่งร่างกาย ตกแต่งเสื้อผ้าหรือของใช้อื่นๆได้ เช่น ภาพติดผนัง เข็มกลัดติดเสื้อ สร้อยคอ ดอกไม้ประดับกระเช้าของขวัญ ตะกร้าหวาย หมอน เข็ม พรมเช็ดเท้า เป็นต้น
2. ใช้เป็นของเล่น เช่น ม้าก้านกล้วย หุ่นถุงกระดาษ โทรศัพท์จากกระป๋องนม ตุ๊กตาสปริง เป็นต้น
3. ใช้เป็นของขวัญที่ระลึก โดยผู้ให้คิดประดิษฐ์เองจากวัสดุหรือเศษวัสดุที่มีอยู่ในบ้าน
ซึ่งจะทำให้เกิดความภูมิใจและชื่นชมทั้งผู้ให้และผู้รับ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยประหยัดรายจ่ายในการซื้อหา เช่น พวงกุญแจ ตุ๊กตาแขวนรถ ถุงบุหงารำไป เป็นต้น
4. รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และทำให้เกิดความเพลิดเพลินในการทำงาน
5. เป็นการฝึกลักษณะนิสัยในการทำงานให้เป็นคนมีความอดทน มีความละเอียดรอบคอบ
6. ช่วยให้เกิดความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ กล่าวคือเมื่อทำงานประดิษฐ์เป็นกลุ่มจะต้องรู้จัก ช่วยเหลือกัน รู้จักเสียสละ รู้จักการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี






ประเภทของสิ่งประดิษฐ์
งานผลิตสิ่งประดิษฐ์เป็นศิลปะชนิดหนึ่งซึ่งแตกต่างจากการเย็บ-ปัก-ถัก-ร้อย งานปั้น
และงานแกะสลัก งานประดิษฐ์มิได้เน้นความสวยงามแต่เพียงอย่างเดียว แต่เน้นประโยชน์ใช้สอยด้วย ดังนั้นสิ่งประดิษฐ์ ที่เราพบเห็นกันในปัจจุบันมีมากมายหลายประเภท ดังต่อไปนี้
1. สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย
สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยเป็นผลงานที่สะท้อนให้เห็นถึงขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของคนไทยตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน มีความงานและคุณค่าทางศิลปะซึ่งควรอนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญหายผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยที่เราสามารถพบเห็นอยู่ทั่วไปได้แก่
1.1 งานจักสาน
เป็นผลงานจากหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยซึ่งประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวันภายในครอบครัวเช่น ตะกร้า กระจาด กระบุงกระติ๊บ ข้าวลอบ ไซ หมวก เสื่อ เป็นต้นวัสดุที่นิยมนำมาจักสานส่วนใหญ่เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น หวาย ไม้ไผ่ ใบลาน เชือกกล้วย ก้านมะพร้าว ผักตบชวา ฟาง กก กระจูด เป็นต้น
1.2 งานปั้น
เป็นผลงานจากการนำดินเหนียวหรือดินอื่น ๆ มาปั้นเป็นรูปสัตว์หรือสิ่งต่างๆตามที่เราต้องการ เช่น ปั้นรูปตุ๊กตา ปั้นรูปผักผลไม้ แจกัน ถ้วยชาม เป็นต้น
1.3 งานใบตอง
เป็นผลงานที่ได้จากการนำใบตองมาตัด เย็บและประกอบเป็นรูปร่างและรูปทรงต่าง ๆ แล้วนำมาบรรจุอาหาร ดอกไม้หรือประดับตกแต่งเพื่อใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เช่น กระทง บายศรี ถาดวางผักผลไม้แกะสลัก เป็นต้น
1.4 งานดอกไม้สด
เป็นผลงานที่ได้จากการใช้ดอกไม้สดมาร้อย เย็บหรือจัดรวมกันในภาชนะต่าง ๆ งานดอกไม้สดที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ มาลัย พานพุ่ม กระเช้าดอกไม้ ช่อดอกไม้ เป็นต้น
1.5 งานแกะสลัก
เป็นผลงานการสร้างลวดลายลงบนผักผลไม้หรือวัสดุเนื้ออ่อน ประเภทไม้ หรือเทียนโดยใช้เครื่องมือที่มีความแหลมคม เรานิยมใช้ผลงานแกะสลักเหล่านี้ตกแต่งอาหาร ตกแต่งบ้าน หรือใช้เป็นของขวัญ ของที่ระลึก


2. สิ่งประดิษฐ์ทั่วไป
สิ่งประดิษฐ์ทั่วไป เป็นผลงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ดัดแปลงวัสดุต่าง ๆ เพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อเป็นของเล่น ของใช้ ของประดับตกแต่งหรือเพื่อการค้า เป็นต้น ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของสิ่งประดิษฐ์ตามแหล่งที่มาของวัสดุที่ใช้ทำได้ดังนี้
2.1 สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ
เป็นผลงานที่ได้จากการนำวัสดุประเภทพืชมาประดิษฐ์เป็นของเล่น ของใช้และประดับตกแต่ง เช่น ดอกไม้จากยางพารา เข็มกลัดจากเกล็ดปลา และเปลือกหอย กระเป๋าและตะกร้าจากเชือกกล้วย ไม้ไผ่หรือหวาย เป็นต้น
2.2 สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุสังเคราะห์
เป็นผลงานที่ได้จากวัสดุสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์เป็นรูปร่าง รูปทรงต่างๆ เช่น ตุ๊กตาเซรามิกหรือตุ๊กตาเรซิน เทียนแฟนซี ดอกไม้พลาสติก แก้วน้ำ เป็นต้น

ปลูกผักส่วนครัว

วิธีการปลูกผักสวนครัว
1. การปลูกผักในแปลงปลูก มีขั้นตอน คือ
1.1 การพรวนดิน ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 6 นิ้ว เพื่อพรวนดินให้มีโครงสร้างดีขึ้น กำจัดวัชพืชในดินกำจัดไข่แมลงหรือโรคพืชที่อยู่ในดิน โดยการพรวนดินตากทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน
1.2 การยกแปลง ใช้จอบพรวนยกแปลงสูงประมาณ 4-5 นิ้ว จากผิวดิน โดยมีความกว้างประมาณ 1-1.20 เมตร ส่วนความยาวควรเป็นตามลักษณะของพื้นที่หรืออาจแบ่งเป็นแปลงย่อยๆ ตามความเหมาะสม ความยาวของแปลงนั้นควรอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ทั้งนี้เพื่อให้ผักได้รับแสงแดดทั่วทั้งแปลง
1.3 การปรับปรุงเนื้อดิน เนื้อดินที่ปลูกผักควรเป็นดินร่วนแต่สภาพดินเดิมนั้นอาจจะเป็นดินทรายหรือดินเหนียว จำเป็นต้องปรับปรุงให้เนื้อดินดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน
1.4 การกำหนดหลุมปลูก จะกำหนดภายหลังจากเลือกชนิดผักต่าง ๆ แล้วเพราะว่าผักแต่ละชนิดจะใช้ระยะปลูกที่แตกต่างกัน เช่น พริก ควรใช้ระยะ 75 x 100 เซนติเมตร ผักบุ้งจะเป็น 5 x 5 เซนติเมตร เป็นต้น
2. การปลูกผักในภาชนะ
การปลูกผักในภาชนะควรจะพิจารณาถึงการหยั่งรากของพืชผักชนิดนั้นๆ พืชผักที่หยั่งรากตื้นสามารถปลูกได้ดีในภาชนะปลูกชนิดต่างๆ และภาชนะชนิดห้อยแขวนที่มีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร คือ
ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)
วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับภาชนะแขวนอาจใช้ กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้